Wednesday, May 13, 2009

15 - ยาโอ้อวดอันตราย & สเตียรอยด์

วันนี้ขอพูดเรื่องยา เพราะอันตราย และหลายคนหลงเชื่อ กระทั่งกระทรวงสาธารณสุขต้องออกคำเตือนผ่านทีวี.

ยาเร่ขาย, ยาผีบอก, ยาจีน, ยาหม้อ, ยาชุด และยาอื่นจำนวนมากอันตรายเพราะมี สเตียรอยด์ (steroid) และรักษาไม่ได้จริง

ยา และวิธีที่บอกต่อกันมาว่าได้ผลในการรักษานั้น มีโอกาสเป็นจริงเฉพาะกับผู้ป่วยบางราย โดยอาจได้ผลน้อยมาก เพียงแต่ว่า กล่าวถึงเฉพาะผู้ที่ดีขึ้น ไม่รวมผู้รับยา หรือวิธีการดังกล่าวทั้งหมด. หากรวมแล้วอาจเห็นชัดว่า ไม่ได้ผล ก็ได้. อีกประการหนึ่งคือ ท่านต้องระลึกว่า ผู้ป่วยที่มิได้รับยา หรือการรักษาใดเลย ก็มีอาการดีขึ้นได้. ดังนั้น การพิสูจน์ว่า ยา หรือวิธีการใด ได้ผลทางการแพทย์หรือไม่ ต้องใช้สถิติ และต้องเป็นการวิจัยเปรียบเทียบ กับกลุ่มควบคุม ซึ่งคือกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (บอก/แสดงให้คนในกลุ่มควบคุมเชื่อว่า ได้รับยาจริง) มิฉะนั้นอาจเข้าใจผิดแบบตรงข้ามได้ง่าย.

ขอเพิ่มเติมเรื่องที่ท่านควรตระหนัก. ตามกฎหมายแล้ว ห้ามการโฆษณายาใด ว่าสามารถรักษาโรคมะเร็ง, เบาหวาน, ความดัน, ไต, ตับ, สมอง ฯ ไม่ว่าโดยวิธีการใดที่เป็นการโฆษณา เพราะมีการหลอกเพื่อผลทางธุรกิจกับมากมายทั่วประเทศ และยังคงมีอยู่. ยิ่งไปกว่านั้น ยังใส่สารสเตียรอยด์ (steroid) ในยาผิดกฎหมายเหล่านั้น ซึ่งผลคือ ผู้รับยา (ซึ่งมีทั้ง ยาหม้อ, ยาจีน, ยาผีบอก, ยาชุด, ฯ) รู้สึกดีเร็ว แต่เป็นแก้ที่ปลายเหตุ คือ steroid มีผลต่อความรู้สึก การรับรู้ แต่ต้นเหตุของโรคมิได้ดีขึ้น และ steroid ยังเป็นอันตรายถึงชีวิต หากร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่อง.

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522
ตามบทบัญญัติแห่งกฏหมาย กำหนดให้การโฆษณาขายยา ทางวิทยุกระจายเสียง เครื่องขยายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ หรือภาพยนตร์ หรือทางสิ่งพิมพ์ จะต้องได้อนุมัติข้อความ เสียง หรือภาพ ที่ใช้ในการโฆษณา และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้อนุญาตกำหนด
การโฆษณาขายยา จะต้องไม่แสดงสรรพคุณยา ว่าสามารถบำบัด บรรเทารักษา หรือป้องกันโรค หรืออาการของโรคเบาหวาน, มะเร็ง, อัมพาต, วัณโรค, โรคเรื้อน หรือโรคหรืออาการของโรคของ สมอง หัวใจ ปอด ตับ ม้าม ไต
(4.5) การโฆษณาขายยา จะต้องไม่แสดงสรรพคุณยา ว่าสามารถบำบัด บรรเทารักษา หรือป้องกันโรค หรืออาการของโรคเบาหวาน, มะเร็ง, อัมพาต, วัณโรค, โรคเรื้อน หรือโรคหรืออาการของโรคของ สมอง หัวใจ ปอด ตับ ม้าม ไต
(4.6) การแสดงสรรพคุณยาต้องไม่เกินไปกว่าข้อความในเอกสารกำกับยาและฉลาก และต้องไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนด ดังกล่าวข้างต้นด้วย

No comments:

Post a Comment